บทความ

การส่องตรวจกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารส่วนต้น

 การส่องตรวจกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารส่วนต้น  (Esophagogastroduodenoscopy:EGD)   เป็นการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วน หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อดูรอยโรค สามารถส่งชิ้นเนื้อ และรักษาบางอย่างได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ โรคตับแข็ง ฯลฯ  โดยใช้กล้องขนาดเล็กใส่ผ่านทางปาก ก่อนส่องตรวจจะมีการพ่นยาชาบริเวณคอเพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บ การเตรียมตัว  1. แจ้งยาเดิม โรคประจำตัว เพื่อหยุดยาหรือทานยาต่อตามแพทย์แนะนำ  2. งดน้ำงดอาหารก่อนการส่องกล้องอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง 3. งดสูบบุหรี่ งดเคี้ยวหมาก ก่อนวันมาตรวจ 1 วัน 4. งดอาหารสีดำแดง ก่อนมาตรวจ 1 วัน 5. เนื่องด้วยการระบาดของโควิด-19 ท่านจะได้รับการตรวจ ATK ก่อนส่องกล้อง ในวันนัด  6. หากมีไอ น้ำมูก หรือหอบให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนส่องกล้อง 7. หากท่านติดธุระ ไม่สบาย ไม่สามารถมาตามนัดได้ กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อเลื่อนนัดหรือยกเลิกนัด  ขั้นตอนการส่องตรวจ 1. ถอดฟันปลอม ถอดแว่นตา ฝากของมีค่าไว้กับญาติทุกครั้ง 2. ท่านจะได้รับการพ่นยาชาบริเวณลำคอ  3. แพทย์จะใส่กล้องผ่านทางปาก กรุ

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

ประโยชน์ของการส่องลำไส้ใหญ่  1. สามารถตรวจหารอยโรคในลำไส้ใหญ่ได้ เช่น เนื้องอก มะเร็ง แผลในลำไส้เรื้อรัง ฯลฯ  2. หากพบรอยโรคสามารถส่งตรวจผลชิ้นเนื้อ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยได้ 3. หากมีภาวะเลือดออก สามารถตรวจและห้ามเลือดเบื้องต้นได้ผ่านกล้อง ลดภาวะการผ่าตัดเพิ่มเติม การเตรียมตัวส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 1. งดอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ ล่วงหน้า 3 วัน  2. ทานอาหารย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก่อนมา 2 วัน 3. ทานเฉพาะน้ำไร้กาก เช่น น้ำผลไม้กล่อง น้ำซุปใส ก่อนมา 1 วัน 4. รับประทานยาตามแพทย์กำหนด  5. งดน้ำงดอาหารก่อนส่องกล้องอย่างน้อย 8 ชั่วโมง กระบวนการส่องกล้อง 1. ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายเข่าชิดหน้าอก 2. ทีมแพทย์จะมีการให้ยาระงับปวดหรือระงับความรู้สึกร่วมด้วย  หลังจากนั้นแพทย์จะใส่กล้องตรวจเข้าบริเวณทวารหนัก  เป็นเวลา 20-60 นาที  3. หลังส่องกล้องจะได้รับการดูแลที่ห้องพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง  หรือจนตื่นดี อาการที่พบได้หลังตรวจ 1. อึดอัดแน่นท้อง อาการจะทุเลาเมื่อผายลม 2. เจ็บบริเวณท้องน้อย 3. เลือดออกปริมาณเล็กน้อย  4. ง่วงซึม จากการได้รับยาบรรเทาปวดหรือยาระงับความรู้สึก ถ้